การวัดและการประเมินผล
การวัดการประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรังครูผู้สอน
ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและการประเมินผล
จะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ความสามารถของผู้เรียนตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการ
ปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า
ได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ ไม่
ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินการวัดและการ
ประเมินผล ได้เป็นอย่างดี
การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทน
คุณลักษณะของสิ่งที่วัด โดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนคำว่า “การประเมินผล” นั้นเป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของ
โครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผล
การวัดและการประเมินผลการศึกษาหรือการเรียนการสอนหรือที่ในปัจจุบันใช้คําว่าการจัดการ
เรียนรู้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
1. การจัดตำแหน่ง
(Placement) เป็นการวัดและการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือต่าง
ๆ เพื่อจัด
หรือแบ่งประเภทผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความสามารถอยู่ตรงระดับไหนของกลุ่มเก่ง ปานกลาง
หรืออ่อน มาก น้อยเท่าใด ซึ่งสามารถใช้ได้หลาย ๆ กรณี ตัวอย่างเช่น
เมื่อจะรับผู้เรียนเข้าสถานศึกษา ผู้เรียนแต่ละคนจะมี
ความแตกต่างกันทั้งด้านสติปัญญา ความสนใจ ความถนัด รวมทั้งบุคลิกภาพด้านต่างๆ
ที่จะต้องมีการ
กดเลือกว่าจะรับผู้เรียนประเภทใดหรือไม่รับประเภทใดและถ้ารับเข้ามาแล้วจะจัดแบ่งสาขาวิชาหรือชั้นเรียน
อย่างไร
ดังนั้นผู้สอนหรือสถานศึกษาก็จะสามารถใช้การวัดและการประเมินผลมาเป็นเกณฑ์ในการจัดหรือแบ่งประเภทได้อย่างยุติธรรม
2. การวินิจฉัย
(Diagnosis) คําๆนี้ มักจะใช้ในทางการแพทย์
โดยเมื่อแพทย์ตรวจคนใช้แล้ว แพทย์ จะต้องวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคอะไร
หรือมีสาเหตุอะไรที่ทําให้ไม่สบาย ซึ่งจะเป็นการหาสมมติฐานของโรค
เพื่อนําไปสู่การรักษา สําหรับในทางการศึกษานั้น
การวัดและการประเมินผลที่เป็นไปเพื่อการวินิจฉัยว่า
ผู้เรียนคนใดมีความสามารถทางด้านใดและเมื่อสอนไปแล้วในแต่ละวิชามีส่วนใดที่ผู้เรียนเข้าใจ
ชัดเจน ถูกต้องหรือไม่เข้าใจ เข้าใจยังไม่ถูกต้อง
ผู้สอนจะได้สอนหรือแนะนําทําความเข้าใจใหม่ได้ถูกต้อง
3. การเปรียบเทียบ
(Assessment) จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผลในข้อนี้เป็นไปเพื่อการ
เปรียบเทียบความเจริญงอกงามหรือพัฒนาการของการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยการที่ผู้สอนอาจจะสอบวัด
ความรู้ความสามารถของผู้เรียนไว้ก่อนเมื่อเริ่มเรียนแล้ว
หลังจากนั้นเมื่อเลิกเรียนไปแล้วระยะหนึ่ง หรือเมื่อ
เรียนไปจนจบแล้วผู้สอนอาจจะสอบเพื่อวัดและประเมินผลอีกครั้งว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
ซึ่งการกระทําเช่นนี้เป็นการแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเปรียบเทียบจาก
ผลการสอบก่อนเรียนกับผลการสอบหลังจากที่เรียนไปแล้ว
4. การพยากรณ์
(Prediction) เป็นการวัดหรือประเมินผลเพื่อช่วยในการพยากรณ์ทํานายหรือ
คาดการณ์และแนะนําว่าผู้เรียนคนนั้นๆ ควรจะเรียนอย่างไร
จึงจะประสบความสําเร็จและสอดคล้องกับ ความสามารถ
ความถนัดหรือความสนใจของแต่ละบุคคล
ในทางจิตวิทยาการศึกษานั้นเชื่อกันว่าคนเราทุกคน มีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน
ดังนั้น หากสามารถจัดการศึกษา หรือการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ ความถนัด ความสนใจ
หรือความรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนได้ ก็จะทําให้การศึกษาหรือการเรียนรู้
ในเรื่องนั้นๆ ได้รวดเร็วและประสบความสําเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี
5. การป้อนผลย้อนกลับ
(Feedback) เป็นการวัดและการประเมินผลเพื่อนําผลประเมินที่ได้ไปใช้ใน
การปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อๆ ไป
ผลย้อนกลับนี้มีได้ทั้งส่วนที่เป็นของผู้สอนและส่วนที่ เป็นของผู้เรียน
ในส่วนของผู้สอนเมื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านไปแต่ละบทเรียนหรือเมื่อจบการเรียนการ
สอนแล้ว ผู้สอนควรมีการวัดและประเมินผลเพื่อดูว่าเทคนิค วิธีการสอน
สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาหรือ
กิจกรรมที่จัดให้กับผู้เรียนนั้นเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่ อย่างไร
มีส่วนใดบ้างที่จําเป็นต้อง ปรับปรุงแก้ไขส่วนใดบ้างที่ดีอยู่แล้ว
สําหรับในส่วนของผู้เรียนนั้น เมื่อมีการวัดและการประเมินผลแล้ว
ผู้เรียนก็จะได้รับรายงานผลของตนเอง ทําให้ทราบว่าตนเองนั้นมีความรู้ระดับใด
และมีเรื่องใดบ้างที่เรียนรู้ แล้วเข้าใจชัดเจน
เรื่องใดบ้างที่ยังต้องการศึกษาเพิ่มเติมอีก
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เรียนในการศึกษา ขั้นสูงต่อๆ ไป
6. การเรียนรู้
(Learning Experience) เป็นการวัดและการประเมินผลที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวกระตุ้น
ในรูปแบบต่างๆ
ที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีแล้วยังทําให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียนอีกด้วย
เนื่องจาก ในกรณีที่มีการสอบเพื่อวัดและประเมินผลนี้
ก่อนสอบผู้เรียนจะต้องมีการเตรียมตัวสอบจะต้องมีการทบทวน
เนื้อหาวิชาที่เรียนศึกษาค้นคว้า และเมื่อผู้เรียนเข้าทําข้อสอบ
ต้องใช้ความคิดในหลายๆ แง่มุม เช่น คิดแก้ปัญหา คิดคํานวณ คิดหาสรุป เป็นต้น
ซึ่งการคิดเหล่านี้เป็น การที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
การวัดและการประเมินผลนอกจากจะมีจุดประสงค์ดังกล่าวแล้ว
บลูม (Bloom,
1971, p.56) ได้เสนอ ประสงค์ที่จะทําการวัดและการประเมินผล
โดยเน้นที่จุดประสงค์หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัดได้ ไว้ดังนี้
1. วัดทางปัญญาหรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2 วัดทางความรู้สึกนึกคิดหรือจิตพิสัย (Affective Domain)
3.วัดความสามารถในการใช้อวัยวะต่างๆ
หรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผล
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีมากมายหลาย
ชนิด แต่ที่รู้จักและนิยมใช้กันเป็นส่วนมาก ได้แก่
1. การสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้สังเกต สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนใน
สภาพการณ์ที่เป็นจริงทั้งในและนอกห้องเรียนการสังเกตโดยทั่วๆ
ไปเป็นการเฝ้าดูพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ถูก สังเกต ซึ่งอาจจะเฝ้าดูไปตามเรื่องไม่ได้กําหนดหรือวางแผนว่าจะสังเกตอะไร
อย่างไร สังเกตอะไรก่อน-หลัง
เมื่อมีพฤติกรรมอะไรเกิดขึ้นก็สังเกตและจดบันทึกไว้ทั้งหมดหรืออาจจะเฝ้าดูอย่างมีแผนการ
กําหนดไว้ แน่นอนว่าจะสังเกตอะไรบ้างและสังเกตอย่างไร ตัวอย่างเช่น
ต้องการจะวัดว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งมี พฤติกรรมก้าวร้าวอย่างไรบ้าง
อาจกําหนดแผนงานในการสังเกตเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อคอยสังเกต
พฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เรียนคนนั้นว่าแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอะไรออกมาบ้าง
และมีการแสดงออกอย่างไร พร้อมทั้งจดบันทึกผลไว้แล้วนํามาประเมินผลในภายหลัง
เป็นต้น การสังเกตทั้งสองวิธีนี้มีทั้งข้อดีและ ข้อบกพร่องแตกต่างกัน คือ
การสังเกตอย่างไม่มีแผนล่วงหน้า อาจจะเสียเวลาน้อย แต่จะได้พฤติกรรมที่
เกิดขึ้นอย่างมาก โดยที่บางพฤติกรรมอาจไม่ตรงกับที่ต้องการจะสังเกตก็ได้
ส่วนการสังเกตอย่างมีแผนการ จะเสียเวลาเฝ้าคอยพฤติกรรมนั้นๆ นาน แต่จะได้เฉพาะพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตจริงๆ
เท่านั้น
2. การสัมภาษณ์ เป็นการพูดคุยซักถามกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีการซักถามโต้ตอบซึ่งกัน
และกัน การสัมภาษณ์ อาจทําได้สองแบบเช่นเดียวกัน คือ แบบไม่มีแบบแผนและแบบมีแผน
โดยเฉพาะแบบ แผนนั้น จะกระทําเพื่อหาข้อมูลบางอย่างโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
มีแนวการสัมภาษณ์และกําหนดเป็น คำถามไว้ล่วงหน้า ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
โดยจะใช้การถามเพื่อล้วงหาคําตอบแบบหยั่งลึกก็ได้
การสัมภาษณ์วิธีการบันทึกผลการสัมภาษณ์และการตั้งเกณฑ์สําหรับคนที่จะผ่านการสัมภาษณ์ด้วย
การวัดและการสัมภาษณ์ประเมินผล โดยใช้การสัมภาษณ์นี้มีข้อดีตรงที่ผู้สัมภาษณ์จะได้ผลจากการสัมภาษณ์ที่เป็นข้อมูลสภาพจริง
ของผู้ตอบ
ได้ทราบความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อย่างใกล้ชิดแต่อาจต้องใช้เวลามาก
3. การให้ปฏิบัติ เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติให้ดูว่าสามารถทําได้ตามที่เรียนรู้หรือไม่
เช่น การสอนเขียนแบบ
เมื่อผู้สอนสอนหลักการไปแล้วก็ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเขียนแบบตามหลักการที่สอนมา
ให้ดู เป็นต้น การวัดโดยให้ปฏิบัติและประเมินผลจากผลการปฏิบัตินั้นๆ
ถือเป็นวิธีการวัดและประเมินผลที่ดี อีกวิธีหนึ่งในบางสาขาวิชา โดยเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการสอนทักษะต่างๆ
4. การศึกษากรณี เป็นเทคนิคการศึกษาแก้ปัญหา หรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดย
ละเอียดลึกซึ้งเป็นรายๆ ไป เช่น
การค้นหาสาเหตุของผู้เรียนที่มาโรงเรียนสายเป็นประจําหรือผู้เรียนที่ไม่
ตั้งใจเรียนและชอบหนีโรงเรียน เป็นต้น ในการศึกษาจะใช้เทคนิคและเครื่องมือหลายชนิดมารวบรวมข้อมูล
ในเรื่องต่างๆ ที่ศึกษาและบันทึกผลไว้ แล้วนํามาวิเคราะห์
สรุปหาสาเหตุของปัญหาหรือประเด็นที่ต้องการ ศึกษาอย่างแท้จริง
5. การให้จิตนาการ เป็นเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาที่สร้างขึ้นเพื่อล้วงความรู้สึกนึกคิดของผู้ถูกวัด
ออกมาอย่างไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกและให้เจ้าตัวเห็นว่าเป็นความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของคนอื่น
การวัดและการ ประเมินผลด้วยวิธีนี้มักใช้วัดทางด้านบุคลิกภาพ เช่น เจตคติ ความสนใจ
อารมณ์ ค่านิยม นิสัยและอุปนิสัย เป็นต้น การให้จินตนาการมีหลายแบบ เช่น
แบบเติมประโยคให้สมบูรณ์ แบบให้แสดงออกหรืออธิบายภาพ ที่เลือนลาง แบบเรียงลําดับ
เป็นต้น การให้จินตนาการนี้เหมาะสําหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด หรือลําบากใจ
ในการโต้ตอบซักถามได้เป็นอย่างดี เพราะจะทําให้ได้การวัดและการประเมินผลที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงความ
จริงมากที่สุด
6. การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีที่จะต้องมีแบบสอบถามเป็นชุดของคําถามที่ถูกจัดเรียงไว้อย่าง
เป็นระบบระเบียบ พร้อมที่จะส่งให้ผู้ตอบอ่านและตอบด้วยตนเอง
คําถามที่ใช้จะเป็นคําถามที่ใช้ถาม ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่างๆ
เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คําถามใน แบบสอบถามนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบคําถามเปิด
ผู้ตอบต้องหาคําตอบมาใส่เองและแบบคําถามปิดผู้ตอบเลือกตอบจากคําตอบที่ กําหนดให้
การประเมินผลตามระบบการวัดผล
ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น
จะต้องมีการวัดและการประเมินผลเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงสัมฤทธิผล
ในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประสิทธิภาพของผู้สอน
ดังนั้นเมื่อมีการวัดผลด้วยเครื่องมือเทคนิควิธีใดๆ แล้ว
จะต้องนําผลที่ได้จากการวัดนั้นมาประเมินผลด้วยระบบการวัดผลมาตรฐานซึ่งได้แก่
1. การประเมินผลแบบผลแบบอิงกลุ่ม
เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบผลงานหรือคะแนน
ของผู้เรียนแต่ละคนกับผู้เรียนคนอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน
โดยใช้งานหรือแบบทดสอบชนิดเดียวกันหรือฉบับเดียวกัน
จุดมุ่งหมายหลักของการประเมินผลแบบนี้เพื่อต้องการจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้นๆ
ตาม " ตั้งแต่สงสุดจนถึงต่ำสุด
โดยยึดระดับผลสัมฤทธิ์ เช่น การสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อใน
จะมีการแปลคะแนนของผู้สอบออกมาในรูปของคะแนนมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งอาจจะเป็นการจัดคะแนนในรูปของเปอร์เซนไทล์ หรือ เดไซค์ก็ได้
แบบทดสอบสําหรับการประเมินผลประเภทนี้ ควรมีความยากง่ายพอเหมาะยากง่ายพอเหมาะ
คือไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป ค่าที่พอเหมาะคือค่าความยากง่ายที่ 50
% ค่าอำนาจจำแนกสูง
ดังนั้นการได้คะแนนสูงหรือต่ำของผู้เรียนจะถือว่าเป็นเพราะความแตกต่างของตัวผู้เรียน
ความเป็นมาตรฐานของข้อสอบที่สามารถแยกให้เห็นถึงความแตกต่างของคะแนนได้ การ
ผลมแบบอิงกลุ่มนี้จะบอกได้แต่เพียงว่า
ผู้เรียนคนหนึ่งสามารถทำได้ถูกต้องกว่าคนอื่นๆ อยู่กี่คน
โดยไม่สามารถบอกได้ว่าผู้เรียนทําแบบทดสอบได้ถูกต้องทุกข้อ หรือถูกต้อง 70% หรือ 30%
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์
เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กําหนดขึ้น เพื่อดูว่า
หรือการสอบของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้หรือไม่เพียงใด โดยไม่คํานึงถึงอื่นๆ
ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน มาอย่างเช่น การสอบวิชาหลักการสอนให้ผ่าน
จะต้องได้เกรดไม่ต่ํากว่า 2 หรือ C. คนที่สอบได้เท่ากับหรือ มากกว่า 2 หรือ C. ถึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น