ปัญญาด้านภาษา
ลักษณะของเด็กที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านภาษา
1.
มีนิสัยรักการอ่าน
ติดหนังสือ ชอบเขียน ชอบพูด สามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้ดี
2.
มักจะได้ยินเสียงของคำก้องอยู่ในหูก่อนที่จะได้อ่าน
พูด หรือเขียน
3.
จำชื่อสถานที่
เรื่องราว รายละเอียดต่าง ๆ ได้ดี
4.
เจ้าบทเจ้ากลอน
มีอารมณ์ขัน ตลก ชอบเล่นปริศนา คำทาย
5.
ชอบพูดเล่นคำ สำนวน
คำผวน คำพ้อง
6.
ชอบเรียนวิชาภาษาไทย
ภาษาต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ มากกว่าคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านภาษา
เช่น
1.
จัดกิจกรรมให้ได้รับประสบการณ์ตรงเพื่อนำมาเขียนเรื่องราว
2.
จัดกิจกรรมให้ได้พูด
ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น ได้เขียนเรื่องราวที่สนใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 3.ครูควรรับฟังความคิดเห็น คำถาม และตอบคำถามด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น
3.
จัดเตรียมหนังสือ
สื่อการเรียนการสอนเพื่อการค้นคว้าที่หลากหลาย เช่น เทปเสียง วิดีทัศน์
จัดเตรียมกระดาษเพื่อการเขียน อุปกรณ์การเขียนให้พร้อม
ยุทธศาสตร์ในการสอน คือ ให้อ่าน ให้เขียน ให้พูด และให้ฟังเรื่องราวต่างๆ ที่นักเรียนสนใจ
อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็น
นักพูด นักเล่านิทาน นักการเมือง กวี นักเขียน บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์
ครูสอนภาษา
ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
ลักษณะของเด็กที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
1.
ชอบทดลองแก้ปัญหา
สนุกที่ได้ทำงานกับตัวเลข หรือเกมคิดเลข การคิดเลขในใจ เป็นต้น
2.
ชอบและมีทักษะในการใช้เหตุผล
การซักถามปัญหาให้คิดเชิงเหตุผล
3.
ชอบทำตามสั่ง
ทำอะไรที่เป็นระบบระเบียบตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน
4.
สนใจข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
และวิทยาการต่าง ๆ
5.
ชอบค้นหาเหตุผลมาหักล้างหรือวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้อื่น
6.
เชื่อถือเฉพาะแต่สิ่งที่อธิบายได้
มีเหตุผลเพียงพอ
7.
ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
เช่น
1.
ให้มีโอกาสได้ทดลอง
หรือทำอะไรด้วยตนเอง
2.
ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์
งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
3.
ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ
4.
ให้ช่วยทำงานบ้าน
งานประดิษฐ์ ตกแต่ง
5.
ฝึกการใช้เหตุผล
การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ
6.
ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข
เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
ยุทธศาสตร์ในการสอน คือ ให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์ วิจารณ์
ฝึกกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบัญชี
นักคณิตศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู-อาจารย์ เป็นต้น
ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
ลักษณะของเด็กที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
1.
ชอบวาดเขียน
มีความสามารถทางศิลปะ
2.
ชอบฝันกลางวัน
ชอบหลับตาคิดถึงภาพในความคิด จินตนาการ
3.
ชอบวาดภาพ
ขีดเขียนสิ่งต่าง ๆ ลงในกระดาษ สมุดจดงาน
4.
ชอบอ่านแผนที่
แผนภูมิต่าง ๆ
5.
ชอบบันทึกเรื่องราวไว้ในภาพถ่ายหรือภาพวาด
6.
ชอบเล่นเกมต่อภาพ (Jigsaw
Puzzles) เกมจับผิดภาพ หรือเกมที่เกี่ยวกับภาพ
7.
ชอบเรียนวิชาศิลปศึกษา
เรขาคณิต พีชคณิต
8.
ชอบวาดภาพในลักษณะมุมมองที่แตกต่างออกไปจากธรรมดา
9.
ชอบดูหนังสือที่มีภาพประกอบมากกว่าหนังสือที่มีแต่ข้อความ
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
เช่น
1.
ให้ทำงานศิลป
งานประดิษฐ์ เพื่อเปิดโอกาสให้คิดได้อย่างอิสระ
2.
พาไปชมนิทรรศการศิลป
พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
3.
ฝึกให้ใช้กล้องถ่ายภาพ
การวาดภาพ สเก็ตซ์ภาพ
4.
จัดเตรียมอุปกรณ์การวาดภาพให้พร้อม
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานด้านศิลป
5.
ฝึกให้เล่นเกมปริศนาอักษรไขว้
เกมตัวเลข เกมที่ต้องแก้ปัญหา
6.
เรียนได้ดีหากได้ใช้จินตนาการ
หรือความคิดที่อิสระ ชอบเรียนด้วยการได้เห็นภาพ การดู การรับรู้ทางตา
7.
ฝึกให้ใช้หรือเขียนแผนที่ความคิด
(Mind
Mapping) การใช้จินตนาการ
8.
ให้เล่นเกมเกี่ยวกับภาพ
เกมตัวต่อเลโก้ เกมจับผิดภาพ ฯลฯ
ยุทธศาสตร์ในการสอน คือ การให้ดู ให้วาด ให้ระบายสี ให้คิดจินตนาการ
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นศิลปิน
สถาปนิก มัณฑนากร นักประดิษฐ์
ปัญญาด้านการเคลื่อนไหว
ลักษณะของเด็กที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านการเคลื่อนไหว
1.
ชอบการเคลื่อนไหว
ไม่อยู่นิ่ง ชอบสัมผัสผู้อื่นเมื่อพูดคุยด้วย
2.
เป็นนักกีฬา
กระตือรือร้น ชอบเต้นรำ เล่นละคร หรือบทบาทสมมุติ
3.
ชอบทำอะไรด้วยตนเองมากกว่าจะให้คนอื่นทำให้ตน
4.
ชอบทำมือประกอบท่าทางขณะพูดคุย
5.
ชอบพูดคุยเสียงดัง
เอะอะตึงตัง ชอบเล่นหกคะเมนตีลังกากับเพื่อน
6.
ชอบเล่นเครื่องเล่นที่โลดโผน
หวาดเสียว เช่น ชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน รถไฟเหาะตีลังกา ฯลฯ
7.
ชอบเรียนวิชาพลศึกษา
งานประดิษฐ์ ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง
8.
ชอบลงมือกระทำจริงมากกว่าการอ่านคู่มือแนะนำหรือดูวิดีโอแนะนำ
9.
ชอบคิดหรือใช้ความคิดขณะออกกำลังกาย
เดิน วิ่ง
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านการเคลื่อนไหว
เช่น
1.
เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส
จับต้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปฏิบัติจริง
2.
สนับสนุนให้เล่นกีฬา
การแสดง เต้นรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย
3.
จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง
หรือได้ปฏิบัติจริง
4.
ให้เล่นเกม เดิน วิ่ง
หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย
5.
ให้เล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง
กีฬา การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ
ยุทธศาสตร์ในการสอน คือ การให้นักเรียนปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง ได้สัมผัส เคลื่อนไหว
ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ และการเรียนผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ แสดงละคร
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักแสดง
นักกีฬา นาฏกร นักฟ้อนรำ นักประดิษฐ์ นักปั้น ช่างซ่อมรถยนต์ ศัลยแพทย์ เป็นต้น
ปัญญาด้านดนตรี
ลักษณะของเด็กที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านดนตรี
1.
ชอบร้องรำทำเพลง
เล่นดนตรี
2.
ชอบเสียงต่าง ๆ
ชอบธรรมชาติ
3.
แยกแยะเสียงต่าง ๆ
ได้ดี รู้จักท่วงทำนอง เรียนรู้จังหวะดนตรีได้ดี
4.
ชอบผิวปาก ฮัมเพลงเบา ๆ
ขณะทำงาน
5.
มักจะเคาะโต๊ะ
หรือขยับเท้าตามจังหวะเมื่อฟังเพลง
6.
สามารถจดจำเสียงที่เคยได้ยินแม้เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งได้
7.
เล่นเครื่องดนตรีได้อย่างน้อย
1
ชิ้น
8.
มักจะได้ยินเสียงเพลงจากภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุก้องอยู่ในหูตลอดเวลา
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านดนตรี
เช่น
1.
ให้เล่นเครื่องดนตรี
ร้องเพลง ฟังเพลงสม่ำเสมอ
2.
หาโอกาสดูการแสดงดนตรี
หรือฟังดนตรีเป็นประจำ
3.
บันทึกเสียงดนตรีที่นักเรียนแสดงไว้ฟังเพื่อปรับปรุงหรือชื่นชมผลงาน
4.
ให้ร้องรำทำเพลงร่วมกับเพื่อนหรือคุณครูเสมอ
ๆ
ยุทธศาสตร์ในการสอน คือ การร้องเพลง การเคาะจังหวะ การฟังเพลง การเล่นดนตรี การวิเคราะห์ดนตรี
วิจารณ์ดนตรี เป็นต้น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักดนตรี
นักแต่งเพลง นักวิจารณ์ดนตรี เป็นต้น
ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
ลักษณะของเด็กที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
1.
ชอบมีเพื่อน
ชอบพบปะผู้คนร่วมสังสรรค์กับผู้อื่น
2.
ชอบเป็นผู้นำ
หรือมีส่วนร่วมในกลุ่ม
3.
ชอบแสดงออกให้ผู้อื่นทำตาม
ช่วยเหลือผู้อื่น ทำงานหรือประสานงานกับผู้อื่นได้ดี
4.
ชอบพูดชักจูงให้ผู้อื่นทำมากกว่าจะลงมือทำด้วยตนเอง
5.
เข้าใจผู้อื่นได้ดี
สามารถอ่านกิริยาท่าทางของผู้อื่นได้
6.
มักจะมีเพื่อนสนิทหลายคน
7.
ชอบสังคม
อยู่ร่วมกับผู้อื่นมากกว่าจะอยู่คนเดียวที่บ้านในวันหยุด
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
เช่น
1.
จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้ากลุ่ม
ทำงานร่วมกัน
2.
ส่งเสริมให้อภิปราย
เรียนรู้ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน
3.
สามารถเรียนได้ดีหากให้โอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ยุทธศาสตร์ในการสอน คือ การให้ทำงานร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การจำลองสถานการณ์ บทบาทสมมุติ การเรียนรู้สู่ชุมชน
เป็นต้น
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบริหาร
ผู้จัดการ นักธุรกิจ นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ ครู - อาจารย์
ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง
ลักษณะของเด็กที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง
1.
ชอบอยู่ตามลำพังคนเดียวเงียบ
ๆ คิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
2.
ติดตามสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษ
มีแรงจูงใจสูง
3.
มีอิสระในความคิด
รู้ตัวว่าทำอะไร และพัฒนาความรู้สึกนึกคิดอยู่เสมอ
4.
ชอบใช้เวลาว่างในวันหยุดอยู่คนเดียวมากกว่าที่จะออกไปในที่มีคนมาก
ๆ
5.
เข้าใจตนเอง
หมกมุ่นอยู่กับความรู้สึก ความคิดและการแสดงออกของตัวเอง
6.
ชอบทำอะไรด้วยตนเองมากกว่าที่จะคอยให้คนอื่นช่วยเหลือ
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความสามารถปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง
เช่น
1.
เปิดโอกาสให้ทำงานตามลำพัง
ทำงานคนเดียว อิสระ แยกตัวจากกลุ่มบ้าง
2.
สอนให้เห็นคุณค่าของตัวเอง
นับถือตัวเอง (self esteem)
3.
สนับสนุนให้ทำงานเขียน
บันทึกประจำวัน
4.
สนับสนุนให้ทำโครงงาน
การศึกษารายบุคคล หรือทำรายงานเดี่ยว
5.
ให้เรียนตามความถนัด
ความสนใจ ตามจังหวะการเรียนเฉพาะตน
6.
ให้อยู่กับกลุ่ม
ทำงานร่วมกับผู้อื่นบ้าง
ยุทธศาสตร์ในการสอน ควรเน้นที่การเปิดโอกาสให้เลือกศึกษาในสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ การวางแผนชีวิต
การทำงานร่วมกับผู้อื่น การศึกษารายบุคคล (Individual Study)
ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพอิสระ
เป็นเจ้าของกิจการ เป็นนายจ้างของตัวเอง นักคิด นักเขียน นักบวช นักปรัชญา
นักจิตวิทยา ครู – อาจารย์
ปัญญาด้านการคิดใคร่ครวญ
ลักษณะของเด็กที่มีจุดเด่นหรือมีความสามารถทางปัญญาด้านการคิดใคร่ครวญ
ชอบคิด สงสัยใคร่รู้ ตั้งคำถามกับตัวเองในเรื่องความเป็นไปของชีวิต
ชีวิตหลังความตาย เรื่องเหนือจริง มิติลึกลับ เช่น นักคิดอย่าง อามิ อริสโตเติล
ขงจื้อ ไอน์สไตน์ พลาโต โสเครติส
นอกจากนี้แล้ว
การ์ดเนอร์เคยคิดจะนำ ความฉลาดทางด้านคุณธรรมจริยธรรม (Moral
intelligence) เพิ่มเข้าไปด้วย ซึ่งในสังคมปัจจุบันเราเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่
ผู้ปกครองและคุณครู ควรปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น