ตรวจสอบและทบทวน
          ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการเขียนระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ (rubrics) ซึ่งอาจใช้แนวทางการกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO Taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน หรือแนวทางอื่น ๆ
= การประเมินการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การปรับใช้  Solo taxonomy กับแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ มีอยู่มากมาย อาทิ
          ในการสอนครูผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไร ครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
          ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด จะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้
          การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสำคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสามารถ (แทนสิ่งที่ครูมักพบว่านักเรียนคนนั้น คนนี้ เก่ง/ไม่เก่ง หรือดี/ ไม่ดี ) และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดี การปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้ สรุปได้ว่า
- ทำให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น( ความมุ่งมั่น/ เจตนา (Intended ) การเรียนรู้ (Learning) ผลผลิต (outcomes)
- การทดสอบสมรรถนะ => ILO’s => การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการ ILO ในการบรรลุผลการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย

Solo taxonomy มีเหมาะสมดีที่นำมาใช้ในการให้เหตุผลในการกําหนดสมรรถนะในหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
SOLO 4 : การพูดอภิปราย สร้างทฤษฎี ทำนายหรือพยากรณ์
SOLO 3 : อธิบาย วิเคราะห์  เปรียบเทียบ
SOLO 2 : บรรยายรวมกัน จัดลำดับ
SOLO 1 : ท่องจำ ระบุ คำนวณ


แบบประเมินความสอดคล้ององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้

คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย /  ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน

ข้อที่
รายการประเมิน
สอดคล้อง
(1)
ไม่แน่ใจ
(0)
ไม่สอดคล้อง
(-1)
1
การเขียนสาระสำคัญมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
2
จุดประสงค์การเรียนรู้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับสาระ  การเรียนรู้
3
หลักฐานการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้/กิจกรรมการเรียนรู้
4
วิธีการวัดผลประเมินผลมีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์     การเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
5
เครื่องมือวัดผลประเมินผล มีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์การเรียนรู้  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  และสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
6
กิจกรรมการเรียนรู้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้  ทักษะ/กระบวนการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
7
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้

เกณฑ์การประเมิน
ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้
ความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้
คะแนนระหว่าง 1 – 3  ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
ค่าความสอดคล้องต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
คะแนนระหว่าง 4 – 7  ระดับคุณภาพ พอใช้
คะแนนระหว่าง 8 – 10  ระดับคุณภาพ ดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรร...