ตรวจสอบและทบทวน
(Review
and Reflect on your learning)
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ปฏิบัติการเขียนแผน จัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the
STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง
กับสาขาวิชาเอกที่เรียน
โดยกําหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน
=การออกแบบการเรียนรู้ที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากล
UDL คือ
การทบทวนแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรโดยใช้ความหลากหลายของเด็กนำหน้า
และสนับสนุนการออกแบบหลักสูตรต่าง ๆ
ที่มีความยืดหยุ่นและมีความสะดวกมากขึ้นต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็ก (Rose
& Meyer, 2002) แนวคิด UDL ได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากลทางด้านสถาปัตยกรรม
เป็นความพยายามในการออกแบบโครงสร้าง โดยคำนึงถึงผู้มีศักยภาพที่จะใช้ทั้งหมด
มาผสมผสานกันเข้า ได้เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น ทางลาด และลิฟต์ ขึ้นมาเป็นจุดตั้งต้น (Connell
และคณะ, 1997) ลักษณะเฉพาะต่างๆ
ที่ช่วยให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้นี้
อาจนำมาผสมผสานกันได้อย่างสวยงามและราคาไม่แพงในการทำงานระดับออกแบบ
ยิ่งไปกว่านั้น นอกเหนือจากการหาทางเข้าถึงผู้ที่มีความพิการ/บกพร่องแต่ละรายแล้ว
ลักษณะเฉพาะเหล่านี้ ยังเอื้อประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่
อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน จึงทำให้มีการนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย (Rose
& Meyer, 2002) UDL เอง ก็ใช้กลวิธีเดียวกันนี้กับการจัดทำหลักสูตร
โดยการพิจารณาความต้องการของเด็กโดยรวมในชั้นตอนของการออกแบบ
และสร้างลักษณะเฉพาะต่างๆ ที่เอื้อต่อการเข้าถึงได้ครบถ้วน นอกจากนี้ UDL ยังขยายแนวความคิดของการออกแบบเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากล
โดยนำลักษณะเฉพาะต่างๆ มาผสมผสานให้เกิดเป็นความสามารถสูงสุด
ทั้งในการเข้าถึงข้อมูล และการเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ (Rose &
Meyer, 2002) เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญใน UDL ความยืดหยุ่นได้ของ UDL ทำให้สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้ได้จริงและมีความสง่างามได้
รูปแบบ the STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model มี 7 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S : กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals) การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้อง ระบุจุดหมายการเรียนรู้(goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ(procedural knowledge) จุดหมาย การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจํากัดด้วยจํานวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความ คาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนําทางผู้เรียนไปสู่ จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill
Attitudes
U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการ ออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือ ชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา(educational products (computers, websites, Software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้(dormitories, classrooms, student union buildings, libraries, and distance learning courses) ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
D : การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทํางาน และชีวิตประจําวัน
I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ ต่าง ๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดย เชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
E : การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ ของตนเอง โดยกําหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการ ตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes : SOLO Taxonomy) มากําหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบคุณภาพ การเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักความหมายของคอมพิวเตอร์
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกการทำหน้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักความหมายของคอมพิวเตอร์
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกการทำหน้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
กิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยใช้คำถาม เช่น
- หน้าที่ของคอมพิวเตอร์คืออะไร
- ทำหน้าปัจจุบันถึงให้ความสนใจในเทคโนโลยี
- คอมพิวเตอร์มี่กี่ประเภท
นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม
นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลและสร้างฐานความรู้ในหัวข้อต่อไปนี้
- องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
- ฮาร์ดแวร์ซอฟท์แวร์คืออะไร
- อุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ในแต่ละฐานความรู้ต้องมีแผนภาพวัฏจักรชีวิตของสัตว์ตัวอย่างแสดงไว้ด้วย
แต่ละกลุ่มต้องศึกษาความรู้ในฐานของตนเองให้เข้าใจ แล้วจึงไปศึกษาความรู้ในฐานของกลุ่มอื่นจนครบทุกฐาน
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
- ความหมายของฮาร์ดแวร์คืออะไร
- การทำงานของคนกับคอมพิวเตอร์ต่างกันอย่างไร
- คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานด้านใดบ้าง
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
นักเรียนร่วมกันอภิปราย การนำความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์และแสวงหาความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการทำงานของมัน นักเรียนจดบันทึกลงในสมุดในคาบเรียน
- คอมพิวเตอร์มี่กี่ประเภท
นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม
นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลและสร้างฐานความรู้ในหัวข้อต่อไปนี้
- องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
- ฮาร์ดแวร์ซอฟท์แวร์คืออะไร
- อุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ในแต่ละฐานความรู้ต้องมีแผนภาพวัฏจักรชีวิตของสัตว์ตัวอย่างแสดงไว้ด้วย
แต่ละกลุ่มต้องศึกษาความรู้ในฐานของตนเองให้เข้าใจ แล้วจึงไปศึกษาความรู้ในฐานของกลุ่มอื่นจนครบทุกฐาน
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
- ความหมายของฮาร์ดแวร์คืออะไร
- การทำงานของคนกับคอมพิวเตอร์ต่างกันอย่างไร
- คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานด้านใดบ้าง
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
นักเรียนร่วมกันอภิปราย การนำความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์และแสวงหาความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการทำงานของมัน นักเรียนจดบันทึกลงในสมุดในคาบเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น